Engineering Plastic โรงงานรับฉีดพลาสติก ขึ้นรูป
  • Home
  • Products
    • Customer
  • About Us
  • Capability
  • Contact Us
  • Blog - พลาสติกสาระความรู้

พลาสติก สาระน่ารู้ต่างๆ

พลาสติกมีกี่ประเภท?

12/5/2019

0 Comments

 
  ราสามารถแบ่งประเภทของพลาสติกได้หลายวิธี เช่นเคมี(Chemistry) ลักษณะภายนอก(Structure) และ พฤติกรรมหรือคุณสมบัติ(Behavior)ในบทความนี้ จะกล่าวถึงประเภทของพลาสติกโดยอ้างอิงกับคุณสมบัติเมื่อผ่านความร้อน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1: เทอร์โมพลาสติกเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)
หรือเรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว
หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิสไตรีน มีสมบัติพิเศษคือ
เมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ ชนิดของพลาสติกใน ตระกูลเทอร์โมพลาสติก ได้แก่
  • พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แต่อากาศผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร เป็นพลาสติกที่นำมาใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น ท่อน้ำ ถัง ถุง ขวด แท่นรองรับสินค้า
  • พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แข็งกว่าพอลิเอทิลีนทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงใช้ทำแผ่นพลาสติถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ทนร้อน หลอดดูดพลาสติก เป็นต้น
  • พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
  • SAN (styrene-acrylonitrile) เป็นพลาสติกโปร่งใส ใช้ผลิตชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
  • ABS (acrylonitrile-butadiene-styrene) สมบัติคล้ายพอลิสไตรีน แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด เป็นต้น
  • พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC) ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร และป้องกันไขมันได้ดีมีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันและไขมันปรุงอาหาร ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ ใช้ทำแผ่นพลาสติก ห่อเนยแข็ง ทำแผ่นแลมิเนตชั้นในของถุงพลาสติก
  • ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ทำแผ่นแลมิเนตสำหรับทำถุงพลาสติกบรรจุอาหารแบบสุญญากาศ
  • พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET) เหนียวมากโปร่งใส ราคาแพง ใช้ทำแผ่นฟิล์มบาง ๆ บรรจุอาหาร
  • พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรด แต่ไม่ทนด่าง เป็นรอยหรือคราบอาหาร จับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนมเด็ก และขวดบรรจุอาหารเด็ก









Picture
Picture
ประเภทที่ 2: เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก
เทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastic) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของพอลิเมอร์ (cross linking among polymer chains) เหตุนี้หลังจาก พลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ การทำพลาสติกชนิดนี้ให้เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดด้วย เทอร์โมเซตติงพลาสติก ได้แก่

  • เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) มีสมบัติทางเคมีทนแรงดันได้ 7,000-135,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงอัดได้ 25,000-50,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงกระแทกได้ 0.25-0.35 ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ถึง 140 องศาเซลเซียส และทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก เมลามีนใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารหลายชนิด และนิยมใช้กันมาก มีทั้งที่เป็นสีเรียบและลวดลายสวยงาม ข้อเสียคือ น้ำส้มสายชูจะซึมเข้าเนื้อพลาสติกได้ง่าย ทำให้เกิดรอยด่าง แต่ไม่มีพิษภัยเพราะไม่มีปฏิกิริยากับพลาสติก
  • ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) มีความต้านทานต่อตัวทำละลายสารละลายเกลือและน้ำมัน แต่พลาสติกอาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำหรือแอลกอฮอล์พลาสติกชนิดนี้ใช้ทำฝาจุกขวดและหม้อ
  • อีพ็อกซี (epoxy) ใช้เคลือบผิวของอุปกรณ์ภายในบ้านเรือน และท่อเก็บก๊าซ ใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ แก้ว และเซรามิก ใช้ในการหล่ออุปกรณ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบผิวอุปกรณ์ ใช้ใส่ในส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ และท่อความดัน ใช้เคลือบผิวของพื้นและผนัง ใช้เป็นวัสดุของแผ่นกำบังนิวตรอน ซีเมนต์ และปูนขาว ใช้เคลือบผิวถนน เพื่อกันลื่น ใช้ทำโฟมแข็ง ใช้เป็นสารในการทำสีของแก้ว
  • พอลิเอสเตอร์ (polyester) กลุ่มของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ (-O•CO-) ในหน่วยซ้ำเป็นพอลิเมอร์ที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำพลาสติกสำหรับเคลือบผิว ขวดน้ำ เส้นใย ฟิล์มและยาง เป็นต้น ตัวอย่างพอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ เช่น พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต และพอลิเมอร์ผลึกเหลวบางชนิด
  • ยูรีเทน (urethane) ชื่อเรียกทั่วไปของเอทิลคาร์บาเมต มีสูตรทางเคมีคือ NH2COOC2H5
  • พอลิยูรีเทน (polyurethane) พอลิเมอร์ประกอบด้วยหมู่ยูรีเทน (–NH•CO•O-) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างไดไอโซยาเนต (di-isocyanates) กับ ไดออล (diols) หรือไทรออล (triols) ที่เหมาะสม ใช้เป็นกาว และน้ำมันชักเงา พลาสติกและยาง ชื่อย่อคือ PU
0 Comments

พลาสติก คือ ?

12/5/2019

0 Comments

 
พลาสติก คือ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบของยานพาหนะ (จาก http://th.wikipedia.org)
บางครั้งพบว่ามีการใช้คำว่า “พลาสติก”  และ “โพลิเมอร์” ในความหมายเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
“โพลิเมอร์” มักหมายถึงวัสดุประเภทพลาสติก ยาง เส้นใย และกาว ส่วนคำว่า
“พลาสติก” จะหมายถึงสารผสมระหว่างโพลิเมอร์และสารเติมแต่ง เช่น สี สารพลาสติกไซเซอร์ สารเพิ่มเสถียรภาพ และฟิลเลอร์
ในทางเคมี พลาสติกจึงหมายถึง สารประกอบของไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงประกอบด้วย โมเลกุลซ้ำๆต่อกันเป็นโมเลกุลสายยาว ประกอบด้วยธาตุสำคัญ 3 ชนิด คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนนอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นๆ ที่ถูกเติมลงไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติพิเศษบางประการให้กับวัสดุ ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟลูออรีน, คลอรีน และกำมะถัน เป็นต้น (จาก http://www.mtec.or.th  National Metal and Materials Technology Center-MTEC )

Picture
ต่อมา ในปี ค.ศ. 1935  มีการค้นพบ LDPE-Low Density Polyethylene โดย นาย Reginald Gibson และ นาย Eric Fawcett
ในปี ค.ศ. 1951 ค้นพบ HDPE ภายใต้ชื่อการค้า Marlex โดย นาย Paul Hogan และ นาย Robert Banks และ และ ในปี ค.ศ. 1978 ค้นพบ LLDPE –Liner Low Density Polyethylene  (http://inventors.about.com/od/pstartinventions/a/plastics.htm)
พลาสติกทำมาจากอะไรจากน้ำมันดิบที่เราขุดเจาะขึ้นมา หรือก๊าซธรรมชาติ นำมาเข้ากระบวนการปิโตรเลียม-กลั่นน้ำมันดิบออกมาเป็น เอธิลีน (Ethylene) , พรอพพิลีน (Propylene) เป็นต้น แล้วเอาผลิตเป็น HDPE, LLDPE, LDPE
โดยจาก 100% ของปริมาณน้ำมันที่มาเข้ากระบวนการจะมีอยู่  4% เท่านั้นที่นำมาผลิตเป็นพลาสติก HDPE (credit to http://www.bottle2bottle.com/education_zone)
วิธีทำพลาสติก คือ นำมาผ่านกระบวนการ crack แล้วทำออกมาเป็นเม็ด เรียกว่า Plastic Granules แล้วเอาเข้าเครื่องจักรกลสำหรับฉีด หรือเป่าเม็ดพลาสติก ออกมาเป็น ฟิล์ม นำไปผลิตเป็นถุงพลาสติก หรือ นำไป molding (เป่า)ฉีดเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น ขวดน้ำ,ถาดสำหรับใส่อาหาร,ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น

0 Comments

    Author

    inprecision.com รับฉีดพลาสติกและขึ้นรูปทั้งวิศวกรรมพลาสติก

    Archives

    December 2019

    Categories

    All

    RSS Feed

Home
Products
Customer
About Us
Capability
Contact Us
Picture
130/134-5 MOO 3, WANGCHULA REAL ESTATE  ​(FACTORYLAND WANGNOI),
​SOI 8  TAMBOL WANGCHULA, AMPUR WANGNOI, AYUTTHAYA 13170  THAILAND
​
​
Tel : +66-035-333-940-1    Fax:+66-035-333-941
​Mobile : +66-092-951-4717
Website management by I.N.PRECISION Co.,Ltd.
powered by WebsTriple.com , Support by
Triple Systems

  • Home
  • Products
    • Customer
  • About Us
  • Capability
  • Contact Us
  • Blog - พลาสติกสาระความรู้